เทคนิคพีซีอาร์ (PCR) ถือเป็นเทคนิคสำคัญในงานวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งงานพื้นฐานในห้องปฏิบัติการ ไปจนถึงการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการแพทย์ และด้านการเกษตร
ตัวอย่าง ประโยชน์ด้านการแพทย์ ของเทคนิค พีซีอาร์ (PCR)
ใช้ ในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ทั้งโรคติดเชื้อและโรคจากพันธุกรรม ได้แก่ การตรวจหาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น เอดส์, วัณโรค, มาลาเรีย แม้มีเชื้อโรคในตัวอย่างที่ส่งมาตรวจจำนวนน้อย ทำให้การ วินิจฉัยโรคเพื่อป้องกันและรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และใช้เวลาน้อยลง
ปัจจุบันมีการ พัฒนาเทคนิคพีซีอาร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขั้นตอนยุ่งยากต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน และนอกจากยืนยันว่าเป็นโรค นั้นๆ ด้วยความไวและความจำเพาะสูงแล้ว ยังบอกความรุนแรงของโรคได้ด้วย
ใน ต่างประเทศ นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเทคนิคพีซีอาร์เพื่อตรวจหาเชื้อแอนแทรกซ์ ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ใช้ผลิตอาวุธชีวภาพ
ตัวอย่างประโยชน์ ด้านการเกษตร ของเทคนิคพีซีอาร์ (PCR)
มี ประโยชน์ต่อการตรวจ วินิจฉัยโรคพืช การตรวจสอบสายพันธุ์พืช นอกจากนี้แล้วเทคนิคพีซีอาร์ ยังช่วยให้ เข้าใจพันธุกรรมของเชื้อโรคพืช ตลอดจนการนำไปใช้ในการป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส หรือเชื้อสาเหตุโรคอื่น ๆ
นำมาใช้ในอุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงกุ้ง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่ทำรายได้ให้กับประเทศจำนวนมาก โดยใช้เทคนิคนี้ตรวจ หาเชื้อสาเหตุโรคในกุ้ง เช่น เชื้อไวรัส ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังนำมาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือกสายพันธุ์กุ้งที่ดีเพื่อใช้ในการ ผสมพันธุ์ซึ่งมีความแปรปรวนพันธุกรรม (Genetic Diversity หรือ Variation) สูง
ตัวอย่างประโยชน์ด้านการศึกษาจีโนม ของเทคนิคพีซีอาร์ (PCR)
มี ประโยชน์ในการ ศึกษาความผันแปรหรือกลายพันธุ์ของยีน การทำแผนที่ยีน และการศึกษาลำดับเบสของสิ่งมีชีวิต นำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในงานวิจัยทางชีววิทยาโมเลกุลและพันธุวิศวกรรม เช่น การวิเคราะห์ลำดับเบสของยีน (Gene sequencing) การ สร้างดีเอ็นเอตรวจติดตาม (DNA probe) และการวิจัย อื่นๆ
โครงการระดับนานาชาติ เช่น โครงการศึกษาจีโนมมนุษย์ (Human Genome Project) ก็ใช้เทคนิคพีซี อาร์สืบหาตำแหน่งยีนแต่ละยีนของมนุษย์
TAG : หลักการของ PCR , สารเคมีที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยา PCR , polymerase chain reaction pcr , ปฏิกิริยา pcr , หลักการ pcr