กระดูกขากรรไกร และข้อต่อ (Dental and Jaw Joint )

ช่องปากของมนุษย์มีโครงสร้างที่เป็นกระดูกล้อมรอบและรองรับอยู่
โครงสร้างกระดูกดังกล่าว คือ กระดูกขากรรไกรล่าง และกระดูกขากรรไกรบน
http://www.face-and-emotion.com/dataface/anatomy/media/Morris_nerves-maxillary.jpghttp://media-2.web.britannica.com/eb-media/96/99196-004-B91F3F9B.jpg
กระดูกขากรรไกรทั้งสองยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดและเป็นส่วนที่สำคัญ
ของโครงสร้างใบหน้าและกะโหลกศีรษะ กระดูกขากรรไกรล่างมีข้อต่อขากรรไกรคู
่ ซึ่งแตกต่างไปจากกระดูกชิ้นอื่นๆ ของร่างกายที่เป็นข้อต่อเดี่ยว ข้อต่อขากรรไกรล่าง
จะอยู่หน้าหู ใต้ต่อกระดูกฐานสมองตอนกลาง

หากอ้าปากแล้วใช้มือแตะไปที่บริเวณหน้าใบหู
จะสัมผัสได้กับการขยับของกระดูกข้อต่อขากรรไกรดังกล่าว ตัวกระดูกขากรรไกรล่าง
ยึดเหนี่ยวสัมพันธ์กับกระดูกขากรรไกรบน คอ หรือกะโหลกศีรษะด้วยเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ
และลิ้น กระดูกขากรรไกรล่างเป็นกรอบ หรือโครงที่สำคัญมากของช่องปาก
ดังนั้นหากกระดูกขากรรไกรล่างผิดรูป เช่น เล็กหรือใหญ่เกิน ช่องปากจะผิดรูปตามไปด้วย
หรือหากขากรรไกรล่างเกิดโรค ก็จะส่งผลทั้งต่อรูปร่างและหน้าที่ของอวัยวะภายในช่องปากเช่นกัน

กระดูกขากรรไกรบนแตกต่างไปจากกระดูกขากรรไกรล่างหลายประการ
โดยในแง่ของโครงสร้างทางกายวิภาค กระดูกขากรรไกรบนยึดแน่นกับกระดูกใบหน้าชิ้นอื่น
โดยไม่ผ่านข้อต่อเช่นขากรรไกรล่าง จึงเป็นเหมือนชิ้นเดียวกับกระดูกใบหน้า ตำแหน่งและรูปร่าง
ของกระดูกขากรรไกรบนแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับนัยน์ตา จมูก ปาก โหนกแก้ม
และคอหอย ในภาวะที่ปกติ การทำหน้าที่ของฟัน เช่น การเคี้ยวอาหาร
จะเกิดแรงเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อขากรรไกรบนและต่อเนื่องไปยังกระดูกใบหน้า
จนบ่อยครั้งที่แรงเคี้ยวอาหารกระจายไปที่กะโหลกศีรษะ

image

ในภาวะเช่นการเคี้ยวอาหารหรือการทำหน้าที่อื่นๆ ของระบบช่องปากและขากรรไกร
จะมีอวัยวะหลายชนิดต่างระบบกันเข้ามาช่วยกันทำหน้าที่ เช่น สมองส่วนกลางสั่งงาน
กล้ามเนื้อบดเคี้ยวที่มีอยู่ 8 มัด และกล้ามเนื้อช่วยเหลือระบบบดเคี้ยวอีกหลายมัด
ให้ทำหน้าที่ดึงรั้งเยื้องกรายยืดหด อันมีผลทำให้ข้อต่อขากรรไกรเคลื่อนไหว
ขากรรไกรล่างเคลื่อนไหว พร้อมกับลิ้น ริมฝีปาก แก้ม
กล้ามเนื้อใบหน้าก็ทำหน้าที่สอดคล้องต้องกันไปด้วย ต่อมน้ำลายถูกกระตุ้น
ให้หลั่งน้ำลายออกมาคลุกเคล้าอาหาร ก่อให้เกิดผลต่างๆ เช่น เคี้ยวอาหาร ลิ้นรับรส
ทำการกลืน สีหน้าแสดงความอร่อยและพอใจ เป็นต้น

การเกาะของกระดูกขากรรไกรในสัตว์ชนิดต่างๆ แตกต่างกันได้หลายรูปแบบ
กระดูกขากรรไกรปรากฎครั้งแรกในปลากลุ่มพลาโซเดิร์ม (placodermi) โดยทั้งนี้
กระดูกขากรรไกรเปลี่ยนแปลงมาจากแบรงเคียลอาร์ชคู่ที่ 1 หรือที่เรียกว่า
แมนดิบูลาร์อาร์ช ลักษณะโครงสร้างภายในเป็นส่วนผสมของเนื้อกระดูกสองชนิดที่ทำให้
กระดูกขากรรไกรยึดเกาะกับกะโหลกศีรษะได้อย่างมั่นคงแข็งแรง การเกาะของกระดูกขากรรไกร
พบได้หลายแบบ และเมื่อสัตว์มีวิวัฒนาการสูงขึ้น ขากรรไกรล่างจะเจริญดีและแข็งแรงขึ้น
โดยถูกแทนที่ด้วยกระดูกเดอร์มัล ซึ่งตอนแรกมีจำนวนหลายชิ้น ต่อมาก็จะลดลง
เหลือเพียงกระดูกเดนทารีเท่านั้น และมีขนาดใหญ่แข็งแรง ดังเช่นที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั่นเอง

image

ภยันตรายและการบาดเจ็บของช่องปาก กระดูกขากรรไกร และใบหน้าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย
ใบหน้าของคนเรามักได้รับบาดเจ็บอยู่เสมอ และเมื่อได้รับบาดเจ็บแล้ว ช่องปากขากรรไกร
ก็มักหลีกไม่พ้นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการบาดเจ็บนั้น อาจแบ่งจำแนกลักษณะของ
การบาดเจ็บออกได้เป็นชนิดเนื้อเยื่ออ่อนบาดเจ็บอย่างเดียว ชนิดเนื้อเยื่ออ่อนบาดเจ็บ
ร่วมกับกระดูกใบหน้ารวมทั้งกระดูกขากรรไกร ชนิดที่ฟันและเหงือกบาดเจ็บ
และชนิดกระดูกขากรรไกรบาดเจ็บอย่างเดียว ซึ่งพบได้ไม่มากนัก
การดูแลรักษาการบาดเจ็บแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไปตามความรุนแรง
และจำเป็นต้องพิจารณาให้กลับมาทำหน้าที่ได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดด้วยเสมอ


ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

Manager Online - สุขภาพ

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger .

TOPO