เรามักจะไม่นิยมรับประทานส้มหรือจำพวกของเปรี้ยวหลังจากที่แปรงฟันเสร็จ ใหม่ๆ หรือในช่วงเช้าตรู่ ก็เนื่องจากรสชาติที่ออกขม แต่ทำไมถึงขม นักวิทยาศาสตร์จาก สำนักวิชาเคมีศึกษา มหาวิทยาลัยวิสคอนซินมีคำตอบ
ตัวการสำคัญก็คือ ฟอสโฟลิพิด (Phospholipids) นั่นเอง นาย John Moore กล่าว หลังจากที่เขาได้ศึกษา “เจ้าไขมัน” ชนิดนี้ ที่ทำให้ตุ่มรับรสในปากของเราทำงาน แปลกหรือผิดปกติออกไปและทำให้เรารู้สึก “ขม” ทั้งนี้เนื่องจากสารทำความสะอาด ในยาสีฟัน รวมถึงสารที่เรียกว่า sodium laurel sulfate ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ ้ไขมันฟอสโฟลิพิด (phospholipids) ที่ปกติเคลือบอยู่ที่ลิ้นนั้นแตกตัว
โดยปกติสารทำความสะอาดพวกนี้ มีหน้าที่ช่วยในการทำให้ฟันสะอาดขึ้น รวมถึงทำให้ฟอสโฟลิพิด (Phospholipids) แตกตัวและชะล้างมันออกไป ทำให้ลิ้นของเราเสียสมดุลในการรับรส
“อันที่จริงแล้ว ฟอสโฟลิพิด (phospholipids) นั้นเป็นตัวขัดขวางการรับรสขมของ ตุ่มรับรส การที่ชะล้างฟอสโฟลิพิด (phospholipids) ออกไปจึงเป็นการเพิ่มความขม ทำให้ของที่ขมเล็กน้อยขมมากยิ่งขึ้น” นาย John Moore กล่าว
นาย John Moore กล่าว ว่า จากการที่เขาได้ศึกษาเรื่องนี้มา ยังมีเงื่อนงำ ในเรื่องของการรับรสให้เราได้ศึกษาอยู่เนืองๆ แต่ส่วนตัวแล้วเขาคิดว่า อันที่จริง ความหวานในผลไม้ เช่น ส้ม และเกรฟฟรุ๊ต ปกติจะเป็นตัวที่สกัดกั้นความขม แต่เมื่อฟอสโฟลิพิด (phospholipids) ถูกชะล้างออกไป ตุ่มรับรสขมขม จึงทำงานหนักและทำให้เรารู้สึกว่ารสชาติของผลไม้นั้นแย่มาก
นอกจากนี้ นายJohn Moore ยังทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า อยากพิสูจน์เรื่องนี้ต้องทดลองด้วยตนเองได้ ด้วยการลองแปรงฟันด้วย ผงฟูทำขนม หรือ baking soda (Sodium bicarbonate) อย่าง สมัยโบราณดู แล้วจากนั้นทานส้มหรือผลไม้ที่เป็นกรดอื่นๆ แล้วเปรียบเทียบกับการรับประทานส้มหลังจากการแปรงฟันด้วยยาสีฟันทั่วไป นาย Moore บอกว่า “แล้วคุณจะเห็นความแตกต่าง”
ที่มา http://blog.spu.ac.th/FutureCareer/2008/01/29/entry-8