ปัจจุบันมีการโฆษณาเกี่ยวกับใบแป๊ะก้วย (Ginkgo biloba) ว่าช่วยป้องกันหรือรักษาโรคสมองเสื่อม จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า ช่วยได้จริงหรือ เพราะหลายคนที่กิน ก็ไม่สามารถบอกได้ ว่าความจำดีขึ้นหรือไม่
ใบแป๊ะก้วย (Ginkgo biloba) มีการขึ้นทะเบียนทั้งเป็นยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ และอาหาร ดังนี้
ทะเบียนยาแผนปัจจุบัน มีขนาดความแรงของสารสกัดจากใบแป๊ะก้วย 40 mg. รับประทานวันละ 3 - 4 เม็ด โดยมีข้อบ่งใช้ คือ
โรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
การไหลเวียนของเลือดส่วนขอบผิดปกติ รวมทั้งโรคของเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
การไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังผิดปกติ
ทะเบียน ยาแผนโบราณ ขึ้นทะเบียนในลักษณะผสมกับสมุนไพรตัวอื่น ๆ ที่มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ยาแผนโบราณเหล่านี้ อนุญาตให้แสดงสรรพคุณ เป็นยาบำรุงร่างกายเท่านั้น
การขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร อนุญาตเฉพาะที่มีขนาดรับประทานไม่เกิน วันละ 120 mg. โดยมากที่มาขออนุญาตจะมีขนาดของสารสกัด 50 mg. หากขออนุญาตเป็นอาหาร จะไม่อนุญาตให้มีการแสดงสรรพคุณ ในลักษณะที่เป็นยา
ใบแป๊ะก้วยที่ปลูก ต่างถิ่นกัน จะมีสารออกฤทธิ์ไม่เท่ากัน สารที่ได้จากการสกัด เป็นสาร Terpene lactone ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมี หลายชนิด เช่น
Flavoneglycosides
Ginkgolide
Bilobalide
Proanthocyanides
Carboxillic acid
Catechines
อื่น ๆ
สารลำดับที่ 1 - 3 หากอยู่ร่วมกัน จะมีผลทางการรักษา แต่หากแยกกัน พบว่าไม่มีผลในการรักษา
สาร ละลายที่ใช้ในการสกัดใบแป๊ะก้วย ประกอบด้วยน้ำและสารละลายไขมัน ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ได้สารลำดับที่ 1 - 3 จำนวนมาก ดังนั้น ผู้ผลิตจึงมีการศึกษาวิจัย เพื่อให้ได้สารละลายที่เหมาะสม ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในท้องตลาด จึงมีความหลากหลายในด้านคุณภาพ
สารสกัด Ginkgolide นั้น พบว่ามีผลต้านการเกาะกันของเกร็ดเลือด ดังนั้น สารสกัดใบแป๊ะก้วย จึงห้ามใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) และสารสกัดบางตัว มีผลต้านฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ซึ่งเชื่อกันว่าสารอนุมูลิสระ เป็นต้นเหตุของความชรา และความเจ็บป่วย
สารสกัด ใบแป๊ะก้วยที่ทำในรูปยา จะสกัดส่วนที่เป็นพิษ ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ คือ anacardic acid และ ginkolic acid ให้ต่ำกว่า 5 ppm. ดังนั้น สารสำคัญใบแป๊ะก้วยในรูปยา จึงมักใช้สัญญลักษณ์ EGb 761
จากการ ศึกษาทางคลินิก และจากรายงานการใช้ยานี้ พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมาก มีอาการอันไม่พึงประสงค์ เช่น อาการปั่นป่วนในทางเดินอาหาร ปวดศีรษะ มึนงง มีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ผื่นแพ้ ง่วงซึม ความผิดปกติของระบบประสาท และการนอนหลับผิดปกติ
สำหรับสรรพคุณอื่น ๆ ที่มีการกล่าวอ้าง เช่น รักษาโรคความจำเสื่อม สมองฝ่อ และการใช้ใบแป๊ะก้วย ในลักษณะเป็นใบแห้งใช้ชงกินแบบชา เพื่อช่วยในเรื่องการบำรุงสมอง บำรุงความจำ หรือช่วยป้องกันสมองเสื่อม นั้น ยังไม่มีข้อมูลมายืนยัน
ที่มา http://www.bloggang.com/viewprofile.php?id=marquez&action=viewprofile