ดังเป็นที่ทราบกันดีว่าคนที่มีฟันยื่น, ซ้อนหรือเก มักจะทำให้คนๆ นั้นมีปมด้อย เสียบุคลิก และพลอยทำให้จิตใจเสียไปด้วย นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้วฟันที่ขึ้นมาอย่างไม่เป็นระเบียบยังทำความสะอาดได้ ยาก ฟันจึงผุและเกิดโรคเหงือได้ง่าย ดังนั้นคนที่มีการสบฟันไม่ถูกต้อง จะทำให้การบดเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดเท่าที่ควร
ทันต กรรมจัดฟัน (Orthodontics) เป็นสาขาหนึ่ง โดยเฉพาะของทันตแพทยศาสตร์ ที่ให้การบริการแก่ผู้ป่วยที่ต้องการได้รับการบำบัดรักษาฟันยื่น ฟันซ้อนหรือเก ตลอดจนการสบของฟันที่ผิดปกติให้เข้าสู่สภาพที่ถูกต้อง รวมทั้งการแก้ไขโครงสร้างใบหน้าที่ผิดปกติให้เข้าสู่สภาพที่ปกติอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร การมีสุขภาพของช่องปากที่ดี และความสวยงามของผู้ป่วย
ปัญหาที่พบเสมอก็คือ เด็กควรจะได้รับการบำบัดทางทันตกรรมจัดฟันตั้งแต่อายุเท่าไร ซึ่งเรื่องนี้กำหนดลงไปไม่ได้แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาของการแก้ไขในแต่ละราย แต่ถ้านำเด็กมาให้ตรวจดูทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี ก็สามารถจะบอกได้ว่าสมควรจะรับการบำบัดรักษาทางทันตกรรมจัดฟันได้หรือยัง ในบางรายอาจเริ่มให้การรักษาตั้งแต่ฟันเพิ่งขึ้นเพียง 2 -3 ซี่ เท่านั้น ส่วนอีกหลายรายจะเริ่มเมื่ออายุประมาณ 11 - 13 ปี ซึ่งเป็นระยะที่จะให้ผลดีที่สุดในการรักษา เพราะเป็นช่วงที่เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ และไม่มีฟันน้ำนมเหลืออยู่ในปาก อย่างไรก็ดีถ้าจำเป็นต้องจัดฟัน ในขณะที่ยังมีฟันน้ำนมเหลืออยู่ก็สามารถทำได้ แต่เมื่อฟันแท้ขึ้นมาครบแล้วก็จะต้องจัดฟันต่อไปอีก สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ ถ้ามีสุขภาพของช่องปากที่ดีปราศจากโรคเหงือก และมีจำนวนฟันเหลือมากพอที่จะใช้ยึดเครื่องมือ ก็สามารถได้รับการบำบัดรักษาทางทันตกรรมจัดฟันได้
ก่อน ลงมือรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจช่องปากอย่างละเอียด ถ้ามีฟันผุต้องไปอุดฟันให้เสร็จก่อน รวมทั้งขูดหินปูนให้เรียบร้อย ขบวนการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันจะเริ่มด้วยการพิมพ์ปากเพื่อไปทำแบบฟันของผู้ ป่วยก่อนจัดฟัน และการเอกซเรย์ฟันทั้งปาก รวมทั้งอวัยวะใกล้เคียง เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและกำหนดการรักษาต่อไป
ในผู้ป่วยบางราย จำเป็นต้องยอมให้ถอนฟันแท้บางซี่ออกไป ทั้งๆ ที่เราไม่ต้องการเช่นนั้น แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะการถอนฟันในกรณีเหล่านี้ จะช่วยให้การจัดฟันทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความสวยงามแก่ใบหน้ายิ่งขึ้น ในบางกรณีทำให้การใช้งานดีขึ้น ที่สำคัญจะทำให้ฟันที่จัดเสร็จแล้ว อยู่ในสภาพใหม่ได้มั่นคงไม่กลับไปสู่สภาพเดิมอีก ในกรณีที่ต้องถอนฟันนี้ ทันตแพทย์จัดฟันจะอธิบายให้ท่านทราบล่วงหน้า
การ จัดฟันไม่อาจสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จากฝีมือของทันตแพทย์จัดฟันเท่านั้น เพราะเราจะพบผู้ป่วยเพียงเดือนละครั้ง ความสำเร็จจึงต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของทันตแพทย์จัดฟัน ผู้ป่วย และที่สำคัญคือผู้ปกครอง (ในกรณีผู้ป่วยเด็ก) ความร่วมมือดังกล่าวจะมีอยู่ 3 แบบ คือ
- การดูแลรักษาความสะอาดฟัน ถ้าไม่แปรงฟันให้สะอาดทำให้ฟันผุ มีโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งเหงือกจะบวมแดง มีเลือดออกง่ายบริเวณนั้น บางรายจะเกิดรอยขาวรอบๆ เครื่องมือจัดฟัน อันเป็นผลของเคลือบฟันกร่อนไป การรักษาความสะอาดนี้ต้องเน้นเป็นพิเศษเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มี อัตราเสี่ยงต่อฟันผุสูงมาก อีกทั้งลักษณะของเครื่องมือจัดฟัน จะเป็นตัวเก็บกักเศษอาหารได้เป็นอย่างมาก การแปรงทำความสะอาดก็ยากกว่าปกติ ผู้ป่วยต้องรีบแปรงฟันทันทีหลังรับประทานทุกครั้ง อีกประการหนึ่งผู้ป่วยควรไปรับการตรวจสุขภาพฟัน และขูดหินปูนจากทันตแพทย์ประจำตัวทุก 6 เดือน เป็นอย่างน้อย ติดรูปภาพ
- การนัด การ เคลื่อนฟันที่มีกระดูกรองรับรากฟันที่แข็งแรงนั้นค่อนข้างจะเป็นไปได้ อย่างช้าๆ ดังนั้นการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันจึงกินเวลานานราว 2 ปี โดยเฉลี่ยทันตแพทย์จัดฟันจะค่อยๆเลื่อนฟันทีละเล็กทีละน้อยในแต่ละครั้งที่ ผู้ป่วยมาหาตามนัด แต่ทุกครั้งปัญหาก็จะได้รับการแก้ไข ช่วงเวลานัดจะห่างกันประมาณ 4 สัปดาห์ ทั้งนี้เพราะเป็นช่วงเวลาที่จำเป็นสำหรับการเคลื่อนของฟันอย่างค่อยเป็นค่อย ไป ถ้าผู้ป่วยผิดนัดในแต่ละครั้ง ก็ย่อมหมายความว่า ระยะเวลาของการรักษาจะยาวนานเพิ่มจากที่ควรจะเป็นไปอีก ซึ่งกรณีเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น และทันตแพทย์จัดฟันเองก็ไม่ปรารถนาจะให้เกิดขึ้น ถ้าท่านจำเป็นไม่อาจมาตามนัดได้จริงๆ ก็ควรต้องโทรมานัดวันใหม่ โดยโทรมาล่วงหน้าก่อนวันที่นัดเดิม 24 ชั่วโมง
เป็นของแน่ว่า ทันตแพทย์จัดฟันไม่อาจให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยได้ถ้าเขาไม่มาให้รักษา การขาดนัดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือการมาล่าช้าอย่างไม่มีเหตุผลเป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น - เครื่อง มือชำรุด ถ้าท่านรู้สึกว่าเครื่องมือที่ใส่อยู่ในปากชำรุด หรือเกิดผิดปกติ เช่น แบนด์ฟันหลังหลุด แบร็กเก็ตหลุด ลวดหัก เครื่องมือหาย (ในกรณีเป็นเครื่องมือถอดได้หรือรีเทนเน่อร์) หรือมีบาดแผลในปากเพราะจากเครื่องมือมีความแหลมคม เนื่องจากเครื่องมือจัดฟันนี้ค่อนข้างบอบบาง ผู้ป่วยจึงต้องเลี่ยงอาหารหรือของขบเคี้ยวที่แข็ง เช่น ลูกกวาด กระดูก ข้าวโพด ถั่ว น้ำแข็ง ผักหรือผลไม้ที่แข็งและสิ่งที่เหนียว เช่น หมากฝรั่ง เพราะสิ่งเหล่านี้อาจไปดึงให้เครื่องมือจัดฟันหลุดออกมาได้
หลัง จากใส่เครื่องมือจัดฟันไปแล้วอาจจะรู้สึกเจ็บอยู่ราว 6 - 8 ชั่วโมงหลังการใส่ลวดใหม่ทุกครั้ง อาการเจ็บที่ตัวฟันจะคงอยู่ราว 1-2 วัน อย่างไรก็ตามความเจ็บนี้จะมาก หรือน้อยแล้วแต่บุคคล
การเคลื่อนของฟัน เกิดจากแรงเบาๆ ของเครื่องมือที่กระทำอยู่โดยสม่ำเสมอ แรงนี้จะกระตุ้นให้มีการละลายตัวของกระดูกรอบๆ รากฟันด้านที่แรงกระทำ และจะมีการสร้างตัวของกระดูกด้านตรงข้าม ด้วยวิธีการค่อยเป็นค่อยไปนี้เอง ที่ทำให้ฟันเคลื่อนจากตำแหน่งเดิม ดังนั้น ขณะที่กำลังจัดฟัน ฟันทุกซี่ที่ติดเครื่องมือจะโยกได้เล็กน้อย ภายหลังที่การรักษาเสร็จสิ้นเราใส่รีเทนเน่อร์ให้ฟันอยู่กับที่นิ่ง ๆ กระดูกก็จะสร้างขึ้นมารอบรากฟันทำให้ฟันแน่นเหมือนเดิม
การวางแผนการรักษา
- ระยะป้องกัน เป็นการจัดฟันในช่วงที่เด็กยังมีฟันน้ำนมบางซี่ที่ถูกถอนออกไปก่อนกำหนด จึงจำเป็นต้องใส่เครื่องมือบางอย่างเพื่อรักษาช่องว่างให้ฟันแท้ขึ้น หรือในกรณีที่ช่องว่างดังกล่าว ถูกฟันข้างเคียงเลื่อนเข้ามา ก็มีเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ใส่เพื่อเปิดให้ช่องว่างดังกล่าวกว้างขึ้น หรือในกรณีที่เด็กมีนิสัยเสียบางอย่างที่ก่ออันตรายต่อฟัน เช่น ดูดนิ้วมือ กัดเล็บ กัดริมฝีปาก การกลืนที่ผิดปกติใช้ลิ้นดันฟัน เป็นต้น นิสัยดังกล่าวนี้ต้องได้รับการแก้ไขเสียแต่แรกเพื่อจะได้ไม่เกิดผลเสียที่ ถาวร โดยทันตแพทย์จัดฟันจะใส่เครื่องมือช่วยแก้นิสัยให้แก่เด็กในระยะนี้
- ระยะแก้ไข เป็นการจัดฟันในช่วงที่เด็กมีฟันแท้ขึ้นบางซี่ การแก้ไขในระยะนี้จะช่วยทำให้การจัดฟันง่ายขึ้น และยังช่วยป้องกันไม่ให้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างรุนแรง
- ระยะที่ฟันแท้ขึ้นหมด เป็นการจัดฟันที่เริ่มเมื่ออายุประมาณ 11 - 13 ปี หรือมากกว่านั้น
การ จัดฟันที่ได้ผลดีเลิศนั้นปกติจะขึ้นกับความร่วม มือของผู้ป่วยและการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ป่วย อย่างไรก็ตามผลการรักษาขั้นสุดท้ายไม่อาจจะทำนายได้อย่างแน่นอน เนื่องจากมีสาเหตุมากมายที่มาเกี่ยวข้องกับการจัดฟัน ทำให้ผลที่ได้รับเปลี่ยนแปลงไปจากที่คิดไว้ ด้วยเหตุนี้ทันตแพทย์จัดฟันจึงไม่อาจให้คำมั่นสัญญาใดๆ ถึงผลการรักษาแก่ผู้ป่วยได้
การที่เราทำการรักษาในเด็กที่กำลังเจริญเติบ โต ปัญหาของการเติบโตของเด็ก ปัญหาทางพันธุกรรม และความร่วมมือของผู้ป่วย บางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็ทำให้ผลการรักษาไม่ออกมาดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ทันตแพทย์จัดฟันก็จะรักษาผู้ป่วย จนกระทั่งการใช้งานเป็นไปด้วยดี รวมถึงด้านความสวยงามก็ต้องดีขึ้นกว่าเดิมด้วย โดยปกติแล้ว การทำนายผลสำเร็จของการรักษานั้น ผู้ป่วยจะได้รับการอธิบายจากทันตแพทย์จัดฟัน โดยหลักการทั่วไปแล้ว ความสำเร็จหรือสิ่งที่หวังจะได้จากการจัดฟันก็คือ ต้องให้งานจัดฟันที่ทำเสร็จแล้วบรรลุวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
ความสวยงาม ผู้ป่วยต้องดูดีกว่าก่อนทำ |
การใช้งานได้ดี การบดเคี้ยวอาหารต้องเป็นปกติ |
การคงสภาพของฟันที่จัดเสร็จแล้ว ฟันจะต้องอยู่ในตำแหน่งใหม่อย่างดี ไม่กลับคืนสู่สภาพเดิม |
ถึง แม้ว่าการจัดฟันจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บบ้างเล็กน้อย ในระยะแรก อาจจะรำคาญเครื่องมือ เคี้ยวอาหารลำบากกว่าเดิม และต้องระวังรักษาความสะอาดฟันมากกว่าปกติ แต่ผลที่ได้รับก็นับว่าคุ้มค่าเพราะจะทำให้ท่านฟันสวยมีรอยยิ้มที่งดงาม ทำให้บุคลิกดีขึ้นและสร้างความมั่นใจในตนเองมากขึ้นอีกด้วย