กาฬโรคปอด ข้อมูล โรคกาฬโรคปอด กาฬโรค โรคติดต่อ

ข้อมูล โดยกระปุกดอทคอม
หลัง จากมีข่าวว่า พบผู้เสียชีวิตด้วย โรคกาฬโรคปอด หรือ กาฬโรคปอด ที่เมืองซิเข่อตัน มณฑลชิงไห่ ประเทศจีน จนทางการท้องถิ่นต้องประกาศปิดเมืองซิเข่อตัน เพื่อฆ่าเชื้อ กาฬโรคปอด และป้องกัน กาฬโรคปอด ระบาด พร้อมกักบริเวณประชาชนไว้กว่า 1 หมื่นคน เพื่อดูอาการเนื่องจาก กาฬโรคปอด เป็นโรคที่อันตรายอย่างมาก เพราะเป็น 1 ใน 5 โรคติดต่อร้ายแรง (อหิวาห์ ไข้ทรพิษ กาฬโรค ไข้เหลือง และซาร์ส)

นอกจากนี้ ทางองค์การอนามัยโลก ยังได้ออกมาเตือนว่า กาฬโรคปอด ที่พบในจีนเป็นเชื้อชนิดเดียวกับ "กาฬโรคชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ" ที่เคยคร่าชีวิตชาวยุโรปมาแล้วกว่า 25 ล้านคน งานนี้จึงทำให้หลายคนอยากรู้จัก กาฬโรคปอด ว่าคือโรคอะไร มีอาการอย่างไร
http://www.vcharkarn.com/uploads/160/160784.jpg
กาฬโรค มีลักษณะอาการแบ่งได้ใหญ่ 3 ลักษณะ คือ กาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague), กาฬโรคชนิดโลหิตเป็นพิษ (Septicemic Plague) และ กาฬโรคปอด (Pneumonic Plague) ซึ่ง กาฬโรคปอด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบซิลไล Yersinia pestis อาจเป็นอาการแทรกซ้อนของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง หรืออาจจะเป็นการติดเชื้อครั้งแรก

อาการของ กาฬโรคปอด

ผู้ป่วย กาฬโรคปอด จะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดเมื่อยตัว หอบ เหนื่อยง่าย จากนั้นประมาณ 20-24 ชั่วโมง จะมีอาการทางปอดเริ่มขึ้น คือ ไอถี่ขึ้น เสมหะที่ตอนแรกจะมีลักษณะเหนียวใส จากนั้นจะกลายเป็นสีสนิม หรือแดงสด หากไม่รักษาจะเสียชีวิตภายใน 24-48 ชั่วโมง มักไม่มีปื้นแผลในปอด

การติดต่อของ กาฬโรคปอด

กาฬโรคปอด ถือเป็นกาฬโรคที่อันตรายที่สุด มีระยะฟักตัวประมาณ 2-3 วัน สามารถติดต่อได้ โดยมีหนูหรือหมัดหนูเป็นพาหะ หรือสัมผัสสิ่งของที่เพิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคใหม่ๆ โดยเชื้อ กาฬโรคปอด สามารถแพร่กระจายทางอากาศ และสามารถติดต่อระหว่างคนได้ง่ายผ่านการไอ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็น กาฬโรคปอด มีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 60 หากไม่รีบรักษา สามารถเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังติดเชื้อ แต่หากวินิจฉัยโรคได้เร็ว และได้รับยารักษาอย่างถูกต้อง จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้เกือบร้อยละ 15 แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน และปริมาณเชื้อที่ได้รับด้วย

การควบคุมการติดต่อของ กาฬโรคปอด

การจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ กาฬโรคปอด ได้ ต้องคัดแยกผู้ป่วย กาฬโรคปอด และกักตัวผู้ป่วยอย่างเข้มงวด หรือหากพบผู้สงสัยว่าเป็น กาฬโรคปอด ให้แยกออกมากักตัวไว้ 7 วัน นอกจากนี้ยังต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อจะได้รายงานต่อองค์การอนามัยโลก เนื่องจากองค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้ กาฬโรคปอด เป็นโรคที่ต้องรายงานตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ

ประวัติการแพร่ระบาดของกาฬโรคในอดีต

ในอดีต โรคกาฬโรค มีการระบาดครั้งใหญ่เกิดขึ้น 3 ครั้ง คือ

การระบาดของ ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษ ที่ 3 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า Plague of justinian โดย เริ่มระบาดจากประเทศอียิปต์ไปสู่ทวีปยุโรป โดยเฉพาะที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ทำให้มีคนเสียชีวิต ถึงวันละหมื่นคน และมีการระบาดติดต่อกันเป็นระยะเวลาประมาณ 50 ปี ทำให้มีคนเสียชีวิตหลายล้านคน

การระบาดครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในคริสต์ศวรรษที่ 14 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า The Black Death (กาฬมรณะ) โดยการระบาดเริ่มต้นจากทางตอนใต้ของประเทศอินเดียและจีน ผ่านประเทศอียิปต์เข้าสู่ประเทศยุโรป จนมีการระบาดในอิตาลี เมื่อปี พ.ศ.1889 เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า "Great Mortality" และมีการระบาดเป็นระยะ ตลอดคริสต์วรรษที่ 15, 16, 17 ก่อนที่ในปี พ.ศ.2208 จะเกิดการระบาดใหญ่ที่กรุงลอนดอน ทำให้มีคนตายเป็นจำนวนกว่า 60,000 คน จากประชากร 450,000 คน เรียกการระบาดครั้งนั้นว่า The Great Plague of London การระบาดในยุโรปครั้งนั้น ส่งผลให้มีประชากรประมาณ 25 ล้านคน ต้องตายด้วยโรคนี้

การระบาดครั้งที่ 3 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลกปี พ.ศ.2439 โดยมีการระบาดเข้าสู่สิงค์โปร์ ไทย ฟิลิปปินส์ ฮาไวอี อารเบีย เปอร์เชีย เตอร์กี อียิปต์ และแอฟริกาตะวันตกเข้ารัสเชีย และในทวีปยุโรป ก่อนเข้าสู่อเมริกาเหนือและเม็กซิโก โดยมีรายงานระหว่างปี พ.ศ.2443-2444 ว่า กาฬโรคได้คร่าชีวิตคนในภาคตะวันออกของจีน ประมาณ 60,000 คน และในปี พ.ศ.2453-2454 ที่แมนจูเรีย มีคนเสียชีวิตประมาณ 10,000 คน จากนั้น ต่อมายังมีรายงานการระบาดของ กาฬโรคปอด ที่รัฐแคลิฟอเนียและประเทศรัสเซียอีกด้วย

การระบาดของกาฬโรคในประเทศไทย

สำหรับ การระบาดของกาฬโรคในประเทศไทยนั้น นายแพทย์ เอช แคมเบล ไฮเอ็ด เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล (Principal Medical Officer of Bangkok City) ได้รายงานการระบาดของกาฬโรคครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2447 ที่บริเวณตึกแดงและตึกขาว ซึ่งเป็นโกดังเก็บสินค้า ในจังหวัดธนบุรี และเป็นที่อยู่ของพ่อค้าชาวอินเดีย ก่อนที่จะระบาดมายังฝั่งพระนคร และกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ที่มีการติดต่อค้าขายกับกรุงเทพฯ โดยทางบก ทางเรือและทางรถไฟ แต่ครั้งนั้นไม่ได้เก็บสถิติจำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตที่แน่นอน

จากนั้น ในปี พ.ศ.2456 ได้มีรายงานปรากฏว่า กาฬโรคได้คร่าชีวิตชาวนครปฐมไป 300 คน ก่อนที่จะมีการระบาดอีกครั้ง และเป็นครั้งสุดท้าย ในปี พ.ศ.2495 ซึ่งครั้งนั้น มีรายงานพบผู้ป่วยกาฬโรค 2 ราย เสียชีวิต 1 ราย ที่ตลาดตาคลี จนถึงปัจจุบันผ่านมา 57 ปีแล้ว ยังไม่มีรายงานว่ามีการแพร่ระบาดของ กาฬโรคปอด ในประเทศไทย

การรักษา กาฬโรคปอด

กาฬโรคปอด สามารถรักษาได้ด้วยการทานยาปฏิชีวนะ เช่น สเตรปโตมัยซิน ( streptomycin), เตตระซัยคลิน (tetracycline) หรือ คลอแรมเฟนิคอล (chloramphenicol) เป็นเวลา 7 วัน

การป้องกันการแพร่ระบาดของ กาฬโรคปอด

1.สำรวจหนูและหมัดหนู โดยการควบคุมและกำจัดหนูในโรงเรือน และเรือสินค้ากำจัดหมัดหนูโดยใช้ยาฆ่าแมลง และป้องกันไม่ให้มีหนูมากัด

2.อย่าไปสัมผัสกับสัตว์กัดแทะที่ป่วยตาย เช่น หนู กระรอก ถ้าจะจับไปทิ้งต้องสวมถุงมือ

3.ให้คำแนะนำเรื่องสุขศึกษาให้กับประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้รู้วิธีป้องกันโรค กาฬโรคปอด และหากมีอาการสงสัยว่า ป่วยเป็น กาฬโรคปอด ให้เข้ารับการตรวจรักษาโดยเร็ว

4.มีมาตรการควบคุมระหว่างประเทศ

5.ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชนแออัด และทำความสะอาดชุมชนแออัดให้ดีขึ้น

6.ผู้ที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วย กาฬโรคปอด ควรกินยาเตตระซัยคลินสำหรับป้องกัน และใช้ถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ กาฬโรคปอด

7.ให้วัคซีนแก่ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค ซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคนี้ได้มาก

อย่าง ไรก็ตาม แม้ข่าวการระบาดของ กาฬโรคปอด จะดูไกลตัวสำหรับชาวไทย แต่เราก็ไม่ควรประมาท เพราะ โรคกาฬโรคปอด สามารถติดต่อได้โดยการแพร่กระจายทางอากาศ ดังนั้นป้องกันตัวเองไว้ดีที่สุด

Manager Online - สุขภาพ

  ©Template Blogger Green by Dicas Blogger .

TOPO