โรคปริทันต์
เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับเหงือก และเนื้อเยื่อที่รองรับฟัน ซึ่งปรากฏอาการได้ใน 2 ลักษณะ คือ สภาวะเหงือกอักเสบ และ ปริทันต์อักเสบ
โรคปริทันต์
มีสาเหตุหลักมาจากคราบจุลินทรีย์ ซึ่งมีมากที่บริเวณคอฟันใกล้กับขอบเหงือก จุลินทรีย์จะปล่อยสารพิษออกมา ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ และทำลายอวัยวะปริทันต์ นอกจากนั้นสาเหตุหลักแล้วยังมีปัจจัยเสริมอื่นๆ ที่ทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้น คือ ปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์มากขึ้น ได้แก่ ฟันเก การอุดฟัน หรือใส่ฟันไม่พอดี การมีหินปูน นอกจากนี้ยังพบว่า การสูบบุหรี่ การเป็นโรคเบาหวาน การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในระยะตั้งครรภ์ หรือในวัยรุ่น การรับประทานยาบางอย่างเป็นประจำ เช่น ยารักษาลมบ้าหมู และความเครียด เป็นปัจจัยเสริมที่ส่งผลให้โรคลุกลามมากขึ้น
ระยะที่มีสภาวะเหงือกอักเสบ
เหงือกจะมีสีแดงจัด บวม เลือดออกง่ายเวลาแปรงฟัน เลือดออกได้เองตามไรฟัน อาจมีกลิ่นปากได้
ระยะที่มีสภาวะปริทันต์อักเสบ
(หรือเรียกว่า รำมะนาด) การดำเนินของโรค จะเริ่มต้นจากการที่คราบจุลินทรีย์ไปยึดเกาะกับตัวฟัน โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือก ซึ่งระยะนี้ถ้ามีการแปรงฟันอย่างสะอาดและถูกวิธีร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันอย่างมีประสิทธิภาพทุกๆ วัน คราบเหล่านี้ก็จะสามารถถูกกำจัดไปได้โดยง่าย แต่ถ้าการทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ เชื้อโรคต่างๆ ที่มีอยู่ก็จะเริ่มทำอันตรายเหงือกทำให้ขอบเหงือกอักเสบอ่อนๆ เห็นเป็นสีแดงกว่าเดิม จนถึงมีการทำลายอวัยวะปริทันต์อย่างถาวร คือ เหงือก เยื่อยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน กระดูกขากรรไกร จะถูกทำลายไป ไม่สามารถรักษาให้คืนสภาพปกติได้ อาการของโรคจะรุนแรงเป็นระยะๆ อาจมีอาการเหงือกบวม ปวด ฟันโยก หรือมีหนองไหลออกจากร่องปริทันต์
การป้องกันไม่ให้เป็นโรค
ต้องดูแลความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดโรค การแปรงฟันนับเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า และก่อนเข้านอน ด้วยเหตุผลที่ว่า คราบจุลินทรีย์จะก่อตัวขึ้นใหม่ หลังการแปรงฟันภายในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งในแต่ละคนก็อาจจะแตกต่างกันไป นอกจากการแปรงฟันแล้ว ควรใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดบริเวณซอกฟันในส่วนที่แปรงสีฟันเข้าไม่ถึง ก็จะช่วยให้กำจัดคราบจุลินทรีย์อันเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น
เหงือกจะมีสีแดงจัด บวม เลือดออกง่ายเวลาแปรงฟัน เลือดออกได้เองตามไรฟัน อาจมีกลิ่นปากได้
ระยะที่มีสภาวะปริทันต์อักเสบ
(หรือเรียกว่า รำมะนาด) การดำเนินของโรค จะเริ่มต้นจากการที่คราบจุลินทรีย์ไปยึดเกาะกับตัวฟัน โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือก ซึ่งระยะนี้ถ้ามีการแปรงฟันอย่างสะอาดและถูกวิธีร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันอย่างมีประสิทธิภาพทุกๆ วัน คราบเหล่านี้ก็จะสามารถถูกกำจัดไปได้โดยง่าย แต่ถ้าการทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ เชื้อโรคต่างๆ ที่มีอยู่ก็จะเริ่มทำอันตรายเหงือกทำให้ขอบเหงือกอักเสบอ่อนๆ เห็นเป็นสีแดงกว่าเดิม จนถึงมีการทำลายอวัยวะปริทันต์อย่างถาวร คือ เหงือก เยื่อยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน กระดูกขากรรไกร จะถูกทำลายไป ไม่สามารถรักษาให้คืนสภาพปกติได้ อาการของโรคจะรุนแรงเป็นระยะๆ อาจมีอาการเหงือกบวม ปวด ฟันโยก หรือมีหนองไหลออกจากร่องปริทันต์
การป้องกันไม่ให้เป็นโรค
ต้องดูแลความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดโรค การแปรงฟันนับเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า และก่อนเข้านอน ด้วยเหตุผลที่ว่า คราบจุลินทรีย์จะก่อตัวขึ้นใหม่ หลังการแปรงฟันภายในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งในแต่ละคนก็อาจจะแตกต่างกันไป นอกจากการแปรงฟันแล้ว ควรใช้ไหมขัดฟันช่วยทำความสะอาดบริเวณซอกฟันในส่วนที่แปรงสีฟันเข้าไม่ถึง ก็จะช่วยให้กำจัดคราบจุลินทรีย์อันเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น