1. ครอบดวงตา ด้วยการโค้งอุ้งมือทั้งสองครอบดวงตาไว้เฉย ๆ ระวังอย่าให้อุ้งมือกดทับดวงตา นึกถึงบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เช่น วันพักผ่อนสุดสัปดาห์ตามป่าเขาหรือชายทะเลอยู่ในท่านี้สักประมาณ 10นาที
2. ต่อจากท่าที่ 1 ยังคงครอบดวงตาอยู่แล้ว สร้างจินตภาพว่าตนเองกำลังมองวัตถุบางอย่างที่มีสีสันสดใส มีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ชัดเจน เช่น มองเห็นดอกเบญจมาศสีเหลืองสวย เห็นกลีบดอกแต่ละกลีบละเอียดชัดเจน สายตาที่คมชัดจากจินตนาการของเราเองจะช่วยเยียวยาสายตาจริง ๆ ของเราได้เป็นอย่างดี
3. กวาดสายตา มองแบบไม่ต้องจ้อง เพราะคนที่สายตาสั้นมักจะจ้องและเขม้นตา กวาดสายตาไปตามวัตถุที่อยู่ไกล ๆ ทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง ทำให้ตาของเราได้ผ่อนคลาย
4. กะพริบตา ฝึกนิสัยให้กะพริบตา 1-2 ครั้ง ทุก 10 วินาที ช่วย ให้แก้วตาสะอาดและมีน้ำเหลืองหล่อเลี้ยง โดยเฉพาะคนที่สวมแว่นตาสะอาดและมีน้ำหล่อเลี้ยง โดยเฉพาะคนที่สวมแว่นหรือคอนแทคเลนส์ยิ่งจำเป็น
5. โฟกัสภาพที่ใกล้และไกล เหยียดแขนซ้ายไปให้ไกลที่สุด ตั้งนิ้วชี้มือซ้ายขึ้นเพื่อเป็นจุดโฟกัส ขณะเดียวกันตั้งนิ้วชี้มือขวา ให้ห่างจากใบหน้า สัก 3 นิ้ว โฟกัสภาพที่แต่ละนิ้วสลับกันไปมา ทำบ่อย ๆ เมื่อโอกาสอำนวย
6. หลังตื่นนอนทุกเช้าให้ใช้มือวักน้ำชโลมดวงตาด้วยน้ำอุ่นสัก 20 ครั้ง สลับกับการวักน้ำเย็นชโลมดวงตาอีก 20 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เลือดหมุนเวียนมาเลี้ยงดวงตาดีขึ้น การวักน้ำเย็นช่วยให้กล้ามเนื้อดวงตาและหนังตากระชับไม่หย่อนยาน ก่อนเข้านอนให้กวักน้ำชโลมดวงตาอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้ชโลมด้วยน้ำเย็นก่อนแล้วตามด้วยน้ำอุ่น จะทำให้กล้ามเนื้อตาและหนังตาได้ผ่อนคลายก่อนเข้านอน
7. แกว่งตัว ยืนแยกเท้าเท่ากับช่วงไหล่ แกว่งตัวไปมาจากซ้ายไปขวา ถ่ายน้ำหนักตัวบนขาแต่ละข้างสลับไปมา สายตามองไปไกลๆ แต่ไม่ต้องจ้อง ปล่อยให้จุดที่เรามอง แกว่งไปมาซ้ายขวาตามการแกว่งตัว ท่านี้จะทำให้ดวงตาได้พัก และมีการปรับตัวดีขึ้น ทำบ่อย ๆ เมื่อมีโอกาส เปิดเพลงคลอไปด้วยก็ได้
ที่มา : ข้อมูลจากเวปไทยเฮลท์