ความ รู้ความเข้าใจในการรักษา และได้รับการรักษาถูกต้องตามกำหนดเวลาแล้วละก็ คุณหมอสามารถผ่าตัดแก้ไขให้ความพิการนั้นหายได้ และลูกน้อยจะกลับมาเป็นเด็กที่มีอวัยวะที่สมบูรณ์ และใช้งานไดhทั้งปากและเพดานรวมทั้งฟัน และกระดูกใบหน้า เมื่อโตขึ้นจะมีลักษณะเกือบจะปกติทีเดียว
ดัง นั้นผู้ที่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ควรไปฝากครรภ์กับแพทย์รับคำแนะนำ และรับการฉีดวัคซีนให้ครบ รวมทั้งรับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ และใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ผู้เป็นแม่ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และดูแลตัวเองให้ดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยของคุณและลูกน้อยในครรภ์ และลดการเสี่ยงที่ลูกน้อยของคุณจะเกิดความพิการปากแหว่ง-เพดานโหว่ หรือความพิการอื่นๆ
เด็กที่มีความพิการปากแหว่งเพดานโหว่นั้นมีปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมายหลายประการ ตั้งแต่ปัญหาเรื่องการเลี้ยงดูหลังคลอดแล้ว เนื่องจากเด็กไม่สามารถที่จะดูดนมได้ดีอย่างเด็กทั่วไป ปัญหาความพิการร่วมในระบบอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ความพิการทางหัวใจ และระบบไหลเวียน ความพิการทางระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย รวมทั้งทางระบบประสาทและสมอง ก็สามารถพบในเด็กกลุ่มนี้ได้ค่อนข้างบ่อย แพทย์จึงมักจะต้องการตรวจร่างกายอย่างละเอียดและทำการรักษาหรือแก้ไขอาการ ต่าง ๆ เหล่านี้ไปพร้อม ๆ กันด้วย
อาการปากแหว่ง เพดานโหว่เองก็ยังส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบน และส่วนล่างได้มากกว่าปกติ รวมทั้งการอักเสบของหูชั้นกลางด้วย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษา เพื่อป้องกันผลข้างเคียงในระยะยาว
นอกเหนือจากการรักษาผ่าตัดปากแหว่ง เพดานโหว่ แล้วจะเห็นได้ว่า ความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ สร้างปัญหาได้มากมายจริง ๆ ดัง นั้นก่อนที่แพทย์ทำการรักษา แพทย์จึงต้องตรวจให้ละเอียดว่า เป็นปากแหว่ง เพดานโหว่ ชนิดใด ซึ่งชนิดของปากแหว่งและเพดานโหว่ สามารถแยกได้ดังนี้
1. ปากแหว่ง แบ่งออกเป็น :
2. เพดานโหว่ แบ่งออกเป็น : 3. ปากแหว่งเพดานโหวที่ร่วมกับความผิดปกติของส่วนอื่น ๆ ของใบหน้า เช่น กลุ่มความพิการใบหน้าชนิดต่าง ๆ ความพิการของโรคที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกรเล็กผิดปกติ เป็นต้น การรักษาผู้ป่วยปากแหว่ง ในบางกรณีอาจจะต้องทำการรักษาความพิการแฝงก่อน เช่น ความผิดปกติของหัวใจ ปอด เป็นต้น รวมทั้งการดูสุขภาพของผู้ป่วยว่ามีความพร้อมต่อการผ่าตัดมากน้อยเพียงใด หาก มีโรคที่ต้องการการรักษา เช่น ไข้หวัด ปอดอักเสบ หูอักเสบ ก็มีความจำเป็นต้องรักษาให้หายสนิทเสียก่อน เพื่อจะได้ไม่ส่งผลต่อการผ่าตัด และการดมยาสลบ ช่วงเวลาที่ เหมาะสมในการผ่าตัดริมฝีปากแหว่งนั้นโดยทั่วไป จะใช้กำหนดอายุประมาณ 3 เดือน น้ำหนักเด็กมากกว่า 5 กิโลกรัม และไม่มีปัญหาเรื่องซีด หรือการติดเชื้ออื่น ๆ ในร่างกาย จุดประสงค์ของการผ่าตัดซ่อมแซมริมฝีปาก คือ สร้างริมฝีปาก และแก้ไขจมูกให้กลับคืนสู่สภาพที่ใกล้เคียงกับปกติให้มากที่สุด การ ผ่าดัดริมฝีปากในเด็กนั้น จะต้องทำโดยการดมยาสลบเสมอจึงต้องมีการเตรียมเด็กให้พร้อมเพื่อการดมยาสลบ ได้แก่ การงดน้ำ นม และอาหารอื่น ๆ อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารระหว่างการดมยาสลบ การตรวจเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของร่างกายระหว่างรอการผ่าตัดแพทย์มักจะให้ น้ำเกลือแก่เด็กเพื่อให้เด็กได้รับสารน้ำทดแทนระหว่างการงดอาหารและน้ำ และเป็นทางสำหรับการฉีดยาเพื่อการดมยาสลบด้วย สำหรับวิธีการผ่า ตัดของแพทย์นั้นจะมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความพิการของปากและจมูก รวมทั้งความคุ้นเคยความถนัดของแพทย์ แต่โดยทั่วไปแพทย์จะผ่าตัดโดยการเลื่อนกล้ามเนื้อผิวหนัง และส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ผิดที่ผิดตำแหน่งให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ ถูกต้อง และใช้เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ บนใบหน้ามาหนุนสร้างความนูน ความสูง ลักษณะของจมูกและริมฝีปาก ขั้นตอนในการผ่าตัดนี้มักจะกินเวลาไม่นานนักประมาณ 1-2 ชั่วโมง การผ่าตัดเพดานโหว่ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความพิการปากแหว่งร่วมด้วยนั้น แพทย์จะทำการผ่าตัดเพดานหลังจากการผ่าตัดริมฝีปากประสบผลสำเร็จ และได้ริมฝีปากที่ดีสมบูรณ์และแข็งแรงดีแล้ว โดย ทั่วไปมักจะทำหลังจากการผ่าตัดริมฝีปากประมาณ 6 เดือน ขึ้นไป แต่ในกรณีที่ไม่มีความพิการของปากร่วมด้วย อายุที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดเพดานโหว่ มักจะอยู่ประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปีครึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กจะเริ่มใช้เพดานในการพูด ซึ่งหากได้รับการผ่าตัดที่สมบูรณ์ การพูดของเด็กมีโอกาสที่จะได้ใกล้เคียงกับเด็กปกติค่อนข้างสูง การเตรียมตัวเด็กก็เช่นเดียวกับการเตรียมลำหรับการผ่าตัดริมฝีปากแหว่งที่ ผ่านมาข้างต้นแล้ว การผ่าตัดเพดานโหว่นั้น แพทย์มักอาศัยเนื้อเยื่อของเพดานดานข้างทั้งสอง เลาะออกจากกระดูกเพดาน แล้วเลื่อนเข้ามาหากันตรงกลางโดยการเลาะเนื้อเยื่อส่วนโพรงจมูกกล้ามเนื้อ เพดาน และเยื่อบุเพดาน มาเย็บข้าหากันเป็นสามชั้น ที่สำคัญที่สุด คือ กล้ามเนื้อของเพดานอ่อนที่แพทย์จะพยายามซ่อมให้ได้กล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ที่ สุดเพื่อผลในการพูดและการกลืนอาหารที่ปกติที่สุด ส่วนด้านข้างของเพดาน ที่แพทย์เลาะเลื่อนเข้ามานั้นจะค่อย ๆ งอกเองจนเป็นเพดานเต็มผืนได้เองในที่สุด ซึ่งมักจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เมื่อเด็กได้รับการผ่าตัดแล้ว การดูแลหลังการผ่าตัดมีความสำคัญยิ่ง การ ดูแลหลังการผ่าตัดเป็นหน้าที่ของแพทย์และพยาบาลร่วมกับพ่อแม่ของเด็ก จะต้องดูแลแผลริมฝีปาก รวมทั้งเพดานให้ถูกต้อง ทั้งนี้ เนื่องจากการดูแลที่ไม่ดีเพียงพอจะส่งผลทำให้แผลหายได้ช้า เกิดแผลอักเสบ และแผลที่เย็บไว้แยกออกจากกันได้ ซึ่งรูทะลุที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะส่งผลให้ต้องทำการแก้ไขในช่วงเวลาต่อมาอีก หลายครั้ง ยุ่งยากมากและผลการรักษาที่ได้จะไม่สมบูรณ์ รวมทั้งการใช้งานของเพดานหรือริมฝีปากก็ไม่ปกติได้ โดยทั่วไปแพทย์มักจะมีคำแนะนำดังต่อไปนี้ 1. ควรงดการดูดนมหลังการผ่าตัด ใช้ช้อนหรือหลอดหยดน้ำ หรือนมแทน จนกว่าแผลจะหายดีและแข็งแรงเพียงพอ โดยทั่วไปประมาณ 1 เดือน การป้อนนมสามารถทำได้หลังจากเด็กตื่นจากการดมยาสลบอย่างดีแล้ว 2. หลังการผ่าตัดควรทำความสะอาดแผลตามคาแนะนำของแพทย์ และเมื่อกลับบ้านแล้วควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างต่อเนื่อง แผลผ่าตัดริมฝีปากมักจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ก็จะถอดไหมได้ ส่วนแผลที่เพดานนั้นไม่ต้องตัดไหม แต่จะต้องมารับการตรวจดูสภาพของแผลอีกครั้ง 3. การรักษาต่อเนื่อง เช่น การฝึกการใช้ริมฝีปาก เพดาน การดูแลการจัดฟัน และการผ่าตัดซ่อมแซมเหงือก และการแก้ไขจมูกที่ยังไม่สมบูรณ์นั้น เป็นเรื่องที่ปกติ และสมควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กได้เติบโตพร้อมกับสภาพของใบหน้า และโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ที่สมบูรณ์ในที่สุด การผ่าตัดปากแหว่ง เพดานโหว่ อาจมีผลข้างเคียงเช่นเดียวกับการผ่าตัดทั่ว ๆ ไปยกตัวอย่างเช่น 1. การเกิดเลือดออกจากแผลที่ผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดเพดานโหว่ ทั้งนี้เนื่องจากเส้นเลือดที่เป็นแกนของเพดานที่ถูกเลื่อนออกมาจากกระดูก อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงสัปดาห์แรก บางครั้งถ้าออกมากอาจต้องกลับเข้าไปในห้องผ่าตัดใหม่เพื่อทำการห้ามเลือด 2. การแตกแยกของแผลผ่าตัด การอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะแผลเพดานโหว่สามารถเกิดการทะลุได้ อาจเนื่องจากความตึงของแผลการให้รับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องตามเวลาที่ควร การอักเสบติดเชื้อที่แผลผ่าตัดเป็นต้น 3. ผลข้างเคียงจากการดมยาสลบ พบได้บ้างในช่วงแรกหลังการผ่าตัด อาจเกิดการบวมของหลอดลม ทำให้การหายใจผิดปกติได้ ซึ่งมักจะทำการรักษาแก้ไขได้หากยังอยู่ที่โรงพยาบาล 4. แผลผ่าตัดเกิดกาปูดนูนหรือต้องการการแก้ไขเพิ่มเติม เช่นเดียวกับแผลผ่าตัดทั่วไป การเกิดแผลนูนหลังการผ่าตัดปากแหว่งนั้นเกิดขึ้นได้บ่อย ทั้งนี้อาจเนื่องจากเนื้อเยื่อริมฝีปากเล็ก ตึง ทำให้การเย็บทำได้ค่อนข้างยาก แต่ทั้งนี้แพทย์สามารถแก้ไขให้แผลดีขึ้นได้ในการผ่าตัดครั้งต่อ ๆ ไป หรือรอเวลาให้เด็กโตพอสมควรจึงทำการผ่าตัดแก้ไขให้ใหม่ก็ได้ ปัจจุบันนี้การผาตัดปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นการผ่าตัดที่ได้ผลดี และสามารถทำได้ในโรงพยาบาลทั้งรัฐบาลและเอกชน เนื่องจากความสามารถของศัลยแพทย์ตกแต่งที่มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ อีกทั้งการแก้ไขความพิการชนิดนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐ มูลนิธิ และชมรมต่าง ๆ คอยสนับสนุนอยู่เนือง ๆ พ่อแม่ที่ประสบปัญหามีลูกที่มีความพิการชนิดนี้จึงควรหาความรู้ความเข้าใจ เสาะหาโรงพยาบาล และปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมตกแต่งเพื่อรับการรักษาแก้ไขตั้งแต่เนิ่น เพื่อผลการรักษาที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจของเด็ก รวมทั้งค่าใช้จ่ายก็มักจะไม่มาก บางครั้งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ อย่างใด เนื่องจากมูลนิธิ ชมรม หรือโครงการที่โรงพยาบาลเอกชนร่วมกับกรมประชาสงเคราะห์ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ เช่น โครงการยิ้มสวยด้วยแพทย์ ของโรงพยาบาลยันฮี, โครงการ OPERATION SMILE ของแพทย์จากสหรัฐอเมริกา และของสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทยร่วมกับโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นต้น โดยท่านสามารถขอเข้ารับการช่วยเหลือ โดยติดต่อผ่านกรมประชาสงเคราะห์หรือมูลนิธิต่างๆ การผ่าตัดทำศัลยกรรมตกแต่งเพื่อแก้ไขอาการปากแหว่ง-เพดานโหว่ เป็นวิธีการที่จะช่วยรักษาบุตรหลานของคุณให้กลับมาเป็นปกติได้ สิ่งสำคัญยิ่งนอกจากแพทย์ที่ทำการรักษาแล้ว ตัวคุณเองที่เป็นพ่อแม่ต้องทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจเพื่อดูแลเอาใจใส่ลูกน้อย ของคุณ เมื่อเขาต้องได้รับการผ่าตัด เพื่ออนาคตทั้งชีวิตของลูก เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด คุณไม่ควรปล่อยปัญหาให้เนิ่นนานจนผ่านช่วงเวลาสำคัญไปโดยไม่ได้รับการผ่าตัด ให้เป็นปกติ รีบพาลูกน้อยที่มีปัญหาไปพบแพทย์เสียแต่วันนี้เลยนะครับ |
|
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น